วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

  การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นการเสนอผลงานการดำเนินการเป็นเอกสาร
จัดว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน  เมื่อนักเรียนดำเนินการทำโครงงานจนครบ
ขั้นตอนได้ข้อมูล  ทำการวิเคราะห์ข้อมูล  พร้อมทั้งแปรผล  และสรุปผลแล้ว  งานขั้นต่อไปที่ต้องทำคือ
การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจแนวความคิด  วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้าข้อมูล  ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุป
และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น
       การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงา
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
          4. บทคัดย่อ
          5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
          6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
          8. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
          9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
          10.วิธีดำเนินการ
          11.ผลการศึกษาค้นคว้า
          12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          13. เอกสารอ้างอิง
          1. ชื่อโครงงาน
                    ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย   
                    การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น
                    โครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อ ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย ซึ่งปัญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำพลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหารได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก หรือ ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน ก็เป็นได้
                    อย่างไรก็ตามจะตั้งชื่อโครงการในแบบใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน   
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
                    การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด   
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
                    การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย   
          4. บทคัดย่อ
                         อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้
ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ
                    (ถ้าใช้โปรแกรม Microsoft Word ในการพิมพ์สามารถตรวจสอบจำนวนคำจาก
 เมนูเครื่องมือ เลือกคำสั่งนับจำนวนคำ...)
         5.  กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
                    ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย
ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ  จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย   
          6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
                    ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
                    - แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
                    - แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
                    - ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และ          สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป
                    การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม   ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
                    ส่วนที่ 1 คำนำ :
                         เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์
                    ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :
                         อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้
                    ส่วนที่ 3 สรุป :
                         สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1   
          7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
                    วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ     ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ   
          8. สมมติฐานของการศึกษา
                    สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน   ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ  ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว   
          9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
                    ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา
                    1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด  รวมทั้งกำหนด             กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา
                    2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของ     ตัวแปรอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการ   ทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็น    ตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและ      ผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน   
          10. วิธีดำเนินการ
                    วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำ      โครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
                    1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
                    2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
                    3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
                    4. การวิเคราะห์ข้อมูล
                    ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง   
          11. ผลการศึกษาค้นคว้า
                    นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผล
การวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย   
                   
          12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
                   อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูล    
ที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้  หรือยังสรุปไม่ได้    อกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผล
การทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาด
บางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษา
ค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย   
                   
          13. เอกสารอ้างอิง
                    เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงาน      วิทยาศาสตร์  ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลัการ          ที่นิยมกัน   

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559





โครงงานวิทยาศาสตร์ 
เรื่อง  สบู่ผักผิวใส


โดย
นางสาว ตวงทิพย์       โกยวาณิชย์  ชั้น ม.5/4
 นางสาว กมลทิพย์       ไชยศรีรัมย์  ชั้น ม.5/4
                                  นางสาว ติลยา               คูโนรัมย์      ชั้น ม.5/4
                                  นางสาววารุณี               ปูนรัมย์        ชั้น ม.5/4
                                  นางสาวอรัญญา            ชายเชิด        ชั้น ม.5/4
                                         




ครูที่ปรึกษาโครงงาน
นางรตนัตตยา จันทนะสาโร



รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาคเรียนที่ 1    ปีการศึกษา 255โรงเรียนภัทรบพิตร







โครงงานวิทยาศาสตร์ 
เรื่อง  สบู่ผักผิวใส


โดย
นางสาว ตวงทิพย์       โกยวาณิชย์  ชั้น ม.5/4
 นางสาว กมลทิพย์       ไชยศรีรัมย์  ชั้น ม.5/4
                                               นางสาว ติลยา               คูโนรัมย์      ชั้น ม.5/4
                                               นางสาว วารุณี               ปูนรัมย์       ชั้น ม.5/4
                                               นางสาว อรัญญา            ชายเชิด       ชั้น ม.5/4
                                         





ครูที่ปรึกษาโครงงาน

นางรตนัตตยา จันทนะสาโร


กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบพระคุณผู้ที่สนับสนุนและช่วยเหลือการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งนี้  ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์  ดังรายชื่อผู้สนับสนุนต่อไปนี้ ว่าที่ พ.ต.สุพจน์ ธนานุกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนภัทรบพิตร ครูทุกท่านในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คุณครูพันเทพ บุไธสง หมวดวิชาคอมพิวเตอร์ ที่ได้ให้คำแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน และนางรตนัตตยา จันทนะสาโร ครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ตรวจแก้ไข คำแนะนำ รายงานโครงงานฉบับสมบูรณ์ตลอดเวลาในการทำโครงงาน  คุณค่าและประโยชน์ของโครงงานฉบับนี้ ขอมอบให้สำหรับผู้ที่สนใจและค้นคว้าวิจัย และบิดามารดา  ครูอาจารย์ทุกท่านที่มีพระคุณยิ่ง


คณะผู้จัดทำ



ชื่อโครงงาน          สบู่ผักผิวใส
ผู้จัดทำ                         นางสาว ตวงทิพย์       โกยวาณิชย์    ชั้น ม.5/4
                                  นางสาว กมลทิพย์       ไชยศรีรัมย์    ชั้น ม.5/4
                                  นางสาว ติลยา               คูโนรัมย์      ชั้น ม.5/4
                                  นางสาววารุณี               ปูนรัมย์        ชั้น ม.5/4
                                  นางสาวอรัญญา            ชายเชิด        ชั้น ม.5/4
ระดับ                     ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ครูที่ปรึกษา           นางรตนัตตยา จันทนะสาโร
สถานที่ศึกษา       โรงเรียนภัทรบพิตร

บทคัดย่อ 
โครงงานเรื่อง  สบู่ผักผิวใสมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำสบู่ที่มีพืช ผัก สมุนไพร ตามท้องตลาดเป็นวัตถุดิบสำคัญ และทดลองใช้ เพื่อหาสรรพคุณและผลลัพธ์หลังจากใช้ 1 สัปดาห์ โดยการ เลือกซื้อผักปลอดสารพิษจากท้องตลาด โดยพืชผักที่จะเลือกนำมาทำสบู่ในการทดลองได้แก่ แครอท แตงกวา มะเขือเทศ และอัญชัน นำผักทุอย่างล้างให้สะอาด แล้วนำแต่ละอย่างไปปั่นละเอียดผสมแยกไว้ในถ้วยแล้วนำผ้าขาวบางมากรองเอาน้ำที่คั่นออกมา นำกลีเซอรีนที่ซื้อมาแบ่งเป็น 4 ส่วน สำหรับสบู่ 4 สูตร เริ่มด้วยสูตรแรกคือการนำกลีเซอรีนไปนึ่งในภาชนะที่เป็นโลหะประมาณ2-3 นาที จนละลายให้ใส่น้ำแครอทที่ได้จากการคั้นลงไปคนให้เข้ากัน หยดวิตามิน อี กลีเซอรีน และน้ำหอมลงไป อย่างละ 2-3 หยด คนให้เข้ากัน แล้วยกลงจากเตา นำไปใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ทำสบู่สูตรต่างๆด้วยวิธีการเดียวกันจนครบ เมื่อทำจนครบทุกสูตร ให้ตั้งสบู่ที่อยู่ในพิมพ์ทิ้งไว้ 1-3 ชั่วโมง หรือจนแข็งตัวแล้วนำมาแกะออกจากพิมพ์ ก็จะได้เป็นสบู่ผัก เมื่อได้สบู่ผักแล้วจึงนำไปทดลองใช้กับตัวผู้ทำโครงงานเป็นเวลา 1 สัปดาห์ สบู่ที่ได้ทั้งหมดมี 4 สูตรได้แก่ สูตรแครอท แตงกวา มะเขือเทศ และอัญชัน ลักษณะของสบู่เป็นก้อนสี่เหลี่ยม บางสูตรมีเนื้อยุ้ยและไม่ค่อยแข็งตัวได้แก่สูตรมะเขือเทศและแตงกวา สูตรแครอทและอัญชันค่อนข้างมีเนื้อสบู่ที่แข็ง ตัวสบู่ทุกก้อนมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และมีสีตามสีของผักที่เลือกใช้ โดยการทดลองใช้ในการล้างมือและถูที่แขนข้างซ้ายทุกวัน เช้า-เย็น แทนได้ใช้สบู่ปกติ ติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่า
แขนข้างว้ายที่ทำการทดลองมีสีเหมือนเดิมปกติ แต่ดูกระจ่างใสกว่าเดิเล็กน้อย และเมื่อสัมผัสจะค่อนข้างนุ่มไม่หยาบกร้าน



บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ    
                ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนหลายคนอาบน้ำวันละมากกว่า 1 ครั้ง สมัยก่อนมีสบู่ก้อนแต่เพียงอย่างเดียว สมัยนี้มีสบู่นานาชนิด มีปัญหาที่ต้องถามกันว่า สบู่เหล่านี้มีดีมากดีน้อย จะมั่นใจความปลอดภัยได้มากน้อยแค่ไหน
               ความรู้จากวารสารสนองโอฐสภากาชาดไทย ISSN 0125-5851 ให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้ดังนี้
การอาบน้ำทำความสะอาดผิวหนังเป็นกิจวัตรที่ทุกคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะช่วยขจัดคราบสกปรกของเหงื่อไคล ไขมันเคลือบผิว เชื้อจุลชีพและฝุ่นที่เกาะหนังขี้ไคล การอาบล้างผิวยังช่วยผ่อนคลายความร้อนและความเครียดได้อีกด้วย หลายคนมีความสุขกับการอาบน้ำ บางคนตกแต่งห้องน้ำอย่างหรูหรา สวยงาม และใช้เวลาในการอาบน้ำนานเป็นพิเศษ จริง ๆ แล้วธรรมชาติของผิวหนังจะมีขบวนการทำความสะอาดแบบอัตโนมัติ โดยการผลัดหนังขี้ไคลออกตลอดเวลา การหลุดร่วงของหนังขี้ไคลจะช่วยกำจัดคราบสกปรกไปในตัว ถ้าเป็นผิวแห้งลื่นคราบสกปรกก็ไม่เกาะติด แต่เนื่องจากผิวมีความมัน อีกทั้งยังมีการใช้เครื่องสำอางซึ่งช่วยส่งเสริมให้คราบฝุ่นละออง เขม่าควันที่อยู่ในบรรยากาศภายนอกเกาะผิวแน่นขึ้นไปอีกจึงจำเป็นต้องมีการชำระล้างออก เพื่อการมีผิวพรรณที่สดใสสะอาดของเรา และผลิตภัณฑ์เพื่อการทำความสะอาดผิวหนังส่วนใหญ่ก็เป็นเครื่องสำอางที่มีมูลค่าสูง มีการพัฒนาสูตรต่าง ๆ ให้ถูกใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา มีการโฆษณาลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และนิยมใช้ผู้มีชื่อเสียง บุคลิกดี ผิวสวยเป็นผู้แนะนำสินค้าเพื่อแย่งชิงผู้บริโภค ฉะนั้นก่อนจะใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์อะไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพผิว

วัตถุประสงค์   
1.             เพื่อศึกษาการทำสบู่จากพืชผัก สมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
2.             เพื่อทดลองคุณภาพจากสบู่แต่ละสูตรที่ได้
3.             เพื่อให้รู้สรรพคุณและโยชน์ของ แครอท แตงกวา มะเขือเทศและอัญชัน

สมมติฐาน         
                1.สบู่ที่ทำขึ้นสามารถใช้ได้จริงและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ทดลอง

ตัวแปรที่ศึกษา
                ตัวแปรต้น                          แครอท แตงกวา มะเขือเทศ อัญชัน กลีเซอรีน น้ำหอม วิตามิน E
                ตัวแปรตาม                         ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองใช้สบู่ผัก
                ตัวแปรควบคุม                     ปริมาณแครอท แตงกวา มะเขือเทศ อัญชัน กลีเซอรีน น้ำหอม วิตามิน E

                                                                         
ระยะเวลาในการศึกษา
            วันที่ 7 สิงหาคม -15 กันยายน 2559

งบประมาณ    
            250 บาท

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.             การนำพืชผักสมุนไพรมาทำให้เกิดประโยชน์
2.             มีความรู้ความสามารในการทำสบู่
3.             เพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์












บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แครอท





ภาพที่ 1  แครอท
แครอท ชื่อสามัญ Carrot
แครอท ชื่อวิทยาศาสตร์ Daucus carota L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

          แครอท เป็นพืชในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง เป็นที่นิยมปลูกและรับประทานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าดินสอไปจนถึงขนาดใหญ่ และมีหลากหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง แต่ที่นิยมรับประทานนั้นจะเป็นแครอทสีส้มและยังจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอีกด้วย


แครอทเป็นผักหรือผลไม้ ?
ตอบ แครอทเป็นผัก เพราะแครอทคือส่วนของราก ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพืชนั่นเอง แครอทจึงไม่ใช่ผลไม้

         แครอทอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังมีสารสำคัญคือสาร ฟอลคารินอล” (falcarinol) ซึ่งช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง เป็นต้น สำหรับประโยชน์ของแครอทนั้นที่เด่น ๆ ก็เห็นจะเป็นการนำมาใช้ประกอบอาหารได้อย่างหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว ทั้งผัด ทอด แกง ต้ม ซุป สลัด ยำ ก็มีแครอทเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น และยังมีเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างน้ำแครอทปั่นอีกด้วย ยังไม่หมดเท่านี้สรรพคุณของแครอทที่ใช้เป็นยารักษาโรคก็ใช้รักษาได้อย่างหลากหลายเช่นกัน เช่น เป็นต้น ซึ่งน้อยคนที่จะรู้

ประโยชน์ของแครอท
1.             ช่วยบำรุงสุขภาพผิว ให้สดใสเปล่งปลั่ง
2.             ช่วยป้องกันเซลล์ผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ง่าย จากมลภาวะแสงแดดต่าง ๆ
3.             ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
4.             ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
5.             มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัย และการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
6.             รูปแครอทช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
7.             ช่วยยับยั้งต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
8.             ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
9.             ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
10.      สรรพคุณ แครอทช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
11.      ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไหลเวียนของเลือด
12.      ช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนัง
13.      ประโยชน์ของแครอท ช่วยบำรุงเส้นผม
14.      ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต
15.      ประโยชน์ของแครอทช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
16.      ช่วยบำรุงและรักษาสายตา รักษาโรคตาฟาง และต้อกระจก
17.      ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทยรอยด์เป็นพิษ
18.      ช่วยย่อยอาหาร และช่วยแก้และบรรเทาท้องผูก
19.      แครอท สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
20.      ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน
21.      สรรพคุณของแครอท ช่วยรักษาฝี แผลเน่าต่าง ๆ
22.      นิยมนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน
23.      ใช้ทำเป็นน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพหรือ น้ำแครอท หรือนำมาทำเป็น เค้กแครอท
24.      ในด้านความ นำน้ำแครอทผสมมะนาว ทาผิวหน้าบำรุงผิวพรรณ ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า
25.      ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น สบู่แครอท เป็นต้น

 คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม
น้ำตาล 4.7 กรัม
เส้นใย 2.8 กรัม
ไขมัน 0.24 กรัม
โปรตีน 0.93 กรัม
วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม 104%
เบต้าแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม 77%
ลูทีน และ ซีแซนทีน 256 ไมโครกรัม
วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี2 0.058 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี3 0.983 มิลลิกรัม 7%
วิตามินบี5 0.273 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี6 0.138 มิลลิกรัม 11%
วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม 5%
วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม 7%
วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม 3%
ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมงกานีส 0.143 มิลลิกรัม 7%
ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม 5%
ธาตุโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม 7%
ธาตุโซเดียม 69 มิลลิกรัม 5%
ธาตุสังกะสี 0.24 มิลลิกรัม 3%
ธาตุฟลูออไรด์ 3.2 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

น้ําแครอท
สรรพคุณของแครอทวิธีทำน้ำแครอท อันดับแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ แครอท 1 ผล / น้ำเชื่อม 1 ถ้วย / เกลือ 2 ช้อนชา / น้ำมะนาว 2 ช้อนโตีะ / และน้ำต้มสุก 4 ถ้วย
นำแครอทมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
จากนั้นนำแครอทที่ได้ใส่โถปั่น แล้วตามด้วยน้ำเชื่อม น้ำต้มสุก น้ำมะนาว และเกลือ
ปั่นจนเนื้อละเอียด เป็นอันเสร็จจะได้น้ำแครอทฝีมือเราแล้ว (จะดื่มสด ๆ หรือนำไปแช่เย็นหรือเต็มน้ำแข็งก็ได้ตามใจชอบเลย)
หรืออีกสูตรให้นำแครอทที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ครึ่งถ้วย / น้ำเชื่อม 5 ช้อนโต๊ะ / น้ำแข็งบด 1 ถ้วย นำมาปั่นรวมกันก็อร่อยใช้ได้เหมือนกัน เสร็จแล้ววิธีทำน้ำแครอท
การรับประทานแครอทให้ได้คุณค่าทางอาหารอย่างสูงสุด มีคำแนะนำว่าควรปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน เนื่องจากแครอทมีผนังเซลล์ที่แข็ง การรับประทานแบบดิบ ๆ จะได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ เพราะร่างกายได้รับสารเบต้าแคโรทีนไม่ถึง 25% การทำให้สุกก่อนนำมารับประทานจะทำให้ผนังเซลล์ที่แข็งตัวสลายออกไป ทำให้ร่างกายได้รับเบต้าแคโรทีนได้อย่างสูงสุด และมีคำ แนะนำว่าควรรับประทานแครอทร่วมกับอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากเบต้าแคโรทีนละลายได้ดีในไขมัน จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารเบต้าแคโรทีนได้มากกว่าครึ่งจากการรับประทานปกติ (ที่มา : หนังสือชีวจิต)



          แต่มีงานวิจัยล่าสุดออกมาว่าไม่ควรหั่นแครอทเป็นชิ้น ๆ ก่อนนำมาปรุงอาหาร เพราะจะทำให้สูญเสียประสิทธิภาพของสาร ฟอลคารินอลซึ่งเป็นสารต้านมะเร็งที่อยู่ในแครอท เนื่องจากการหั่นแครอทเป็นชิ้น ๆ จะไปเพิ่มพื้นที่ผิวซึ่งทำให้สารอาหารที่เราควรจะได้รับถูกกรองทิ้งลงไปรวมกับน้ำในขณะประกอบอาหาร ดังนั้นถ้าอยากให้สารอาหารครบถ้วนก็ไม่ควรนำแครอทไปหั่นก่อนการปรุงอาหาร แต่ควรนำมาหั่นหลังปรุงอาหารเสร็จแล้วจะดีกว่า

          แครอท นั้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือสารตะกั่วที่อาจจะเป็นของแถมที่คุณไม่ต้องการ เพราะถ้าแครอทที่นำมาขายนั้นเพาะปลูกใกล้แหล่งอุตสาหกรรมหรือใกล้แหล่งน้ำที่มีสารตะกั่วปนเปื้อน จะทำให้แครอทดูดซึมสารตะกั่วเข้าไปสะสมในหัวแครอทได้ การนำมารับประทานสด ๆ จึงเท่ากับว่าร่างกายได้รับสารตะกั่วเข้าไปเต็ม ๆ แต่สารตะกั่วนั้นการปลอมปนเพียงเล็กน้อยถือว่าเป็นเรื่องปกติถ้าไม่เกินค่ามาตรฐานคือ 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมถือว่ารับประทานได้อย่างอย่างปลอดภัย ดังนั้นควรเลือกซื้อแครอทที่มาจากแหล่งเพาะปลูกที่ปลอดภัย หรือเลือกรับประทานผักผลไม้ให้หลากหลาย และการรับประทานแครอทสีส้มเป็นจำมากเป็นประจำติดต่อกันอาจทำให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้

(สารตะกั่วมีผลเสียโดยตรงกับระบบประสาท ระบบการทำงานของไต ทางเดินอาหาร เซลล์ไขกระดูก อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน โรคโลหิตจาง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกง่าย)

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, หนังสือชีวจิต








2.แตงกวา สรรพคุณและประโยชน์ของแตงกวา 43 ข้อ


ภาพที่ 2 แตงกวา
แตงกวา ชื่อสามัญ Cucumber
แตงกวา ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis sativus L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงกวา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน (ภาคเป็น) เป็นต้น

ลักษณะของแตงกวา
          ต้นแตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษากว่าง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมากสามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร(ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น
ใบแตงกวา ก้านใบยาว 515เซนติเมตร มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ทั้งลำต้นและใบมีขนหยาบ ดอกแตงกวา ลักษณะดอกแตงกวามีกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมียมีลูกแตงกวาเล็ก ๆติดมาด้วย ส่วนดอกตัวผู้สังเกตที่ด้านหน้าดอกมีเกสรยื่นออกเล็กน้อยและไม่มีลูกเล็ก ๆติดที่โคนดอก ผลแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ไส้ภายในผลประกอบด้วยเมล็ดมากมาย

           แตงกวาเป็นผักที่ได้รับความนิยมมาก นิยมนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริกต่าง ๆ ลาบ อาหารจานเดียว อย่างข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก ก็จะมีแตงกวาประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะเป็นผักที่มีน้ำมาก จึงช่วยในการผ่อนคลายความเผ็ดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้เลี่ยนในอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ประโยชน์ของแตงกวา
1.แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
2.ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
3.แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
4.ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยตอต้านมะเร็ง
5.ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
6.ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
7.ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
8.ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
9.ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท เพิ่มความจำ (ผล,เมล็ดอ่อน)
10ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล,เมล็ด)
11.เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
12ช่วยแก้ไข้ (น้ำแตงกวา)
13ช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
14.แตงกวา สรรพคุณช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
15.ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
16.ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
17.ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
18.น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
19.ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
20.น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
21.ช่วยลดอาการบวมน้ำ
22.ทรีทเม้นท์จากแตงกวาช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ลดจุดด่างดำ ช่วยบำรุงทำให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หน้ามัน ทำให้ผิวขาวใส ช่วยบำรุงดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ตาบวม บำรุงเส้นผม ป้องกันผมเสีย ฯลฯ
23.จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็กและมดลูกให้หดตัว กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลบลอยแผลเป็น เป็นต้น
24.แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
25.แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก อาหารจานเดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว
26.ประโยชน์ของแตงกวา ในปัจจุบันมีการใช้น้ำแตงกวานำไปผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่างเช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมแตงกวา ครีมบำรุงผิว ครีมลดริ้วรอย ครีมกันแดด โลชั่น เพื่อช่วยป้องกันผิวแห้งกร้าน ช่วยในการสมานผิว ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล เป็นต้น
27.เมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวาไข่ตุ้ม ต้มจืดแตงกวายัดไส้ ตำแตง ยำแตงกวาปลาทูน่า พล่าแตงกวาหมูย่าง แตงกวาผัดไข่ แตงกวาดอง ฯลฯ
ผู้สนับสนุน







คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาพร้อมเปลือก ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 16 กิโลแคลอรี่
แตงกวาคาร์โบไฮเดรต 3.63 กรัม
น้ำตาล 1.67 กรัม
เส้นใย 0.5 กรัม
ไขมัน 0.11 กรัม
โปรตีน 0.65 กรัม
น้ำ 95.23 กรัม
วิตามินบี1 0.027 มิลลิกรัม 2%
วิตามินบี2 0.033 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี3 0.098 มิลลิกรัม 1%
วิตามินบี5 0.259 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี6 0.04 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี9 7 ไมโครกรัม 2%
วิตามินซี 2.8 มิลลิกรัม 3%
วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม
ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.28 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
ธาตุแมงกานีส 0.079 มิลลิกรัม 4%
ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโพแทสเซียม 147 มิลลิกรัม 3%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม 2%
ธาตุฟลูออไรด์ 1.3 ไมโครกรัม 11%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)



ประโยชน์ของแตงกวา

ทรีทเมนท์แตงกวา
1.             แตงกวาพอกหน้าสูตรป้องกันสิวและสิวหัวดำ ด้วยการใช้เนื้อแตงกวานำมาขูดเป็นฝอยแล้วใช้พอกบริเวณหน้าและลำคอทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที หมั่นทำบ่อย ๆ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดสิวต่าง ๆ ต่างได้
2.             สูตรหน้าขาว ด้วยการใช้น้ำคั้นจากผลแตงกวาและนมสดในปริมาณเท่ากัน แล้วเติมน้ำลอยกลีบกุหลาบประมาณ 3 หยด แล้วนำมาทาหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จะช่วยทำให้ผิวหน้านุ่มและดูขาวยิ่งขึ้น
3.             สูตรหน้าใส ด้วยการใช้น้ำลอยกลีบกุหลาบ และน้ำมะนาวเล็กน้อย (น้ำลอยกลีบกุหลาบควรใช้กลีบมากหน่อย น้ำน้อย ๆ เพื่อให้มีน้ำมันหอมจากกลีบกุหลาบอยู่ในน้ำ) แล้วนำมาผสมกับน้ำคั้นแตงกวา นำมาทาบนผิวหน้าก็ช่วยทำให้ผิวหน้าดูสดใสยิ่งขึ้น (เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่มีผิวมัน)
4.             สูตรหน้าใส ไร้สิว ผิวเกลี้ยงเกลา ด้วยการใช้แตงกวาผ่าครึ่ง 1 ซึก, สตรอเบอร์รี่ 2 ลูก, น้ำมะนาว 1 ช้อนชา และน้ำขิงสดคั้นจากราก นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในเครื่องปั่น แล้วปั่นจนเนื้อเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก (อาจรู้สึกแสบ ๆคันบ้าง สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่ายอาจต้องระวังซักนิด)
5.             สูตรบำรุงผิวพรรณ ลดเลือนริ้วรอย ด้วยการใช้น้ำคั้นจากแตงกวา น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำผึ้ง น้ำลอยกลีบกุหลาบ และกลีเซอรีนอย่างละเท่า ๆกัน แล้วนำมาใช้ทาบริเวณผิว จะช่วยทำให้ผิวดูอ่อนเยาว์และตึงกระชับมากยิ่งขึ้น
6.             สูตรผิวนุ่มชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง บรรเทาอาการอักเสบและช่วยผลักเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ด้วยสูตรแตงกวาและน้ำผึ้ง ด้วยการใช้น้ำผึ้ง 8 ออนซ์, น้ำมะนาว 10 หยด และแตงกวาฝานแผ่นบาง ๆ ขั้นตอนแรกให้น้ำผึ้งผสมกับน้ำมะนาว แล้วทาลงบนใบหน้าแล้วนวดประมาณ 15 นาที แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออก หลังจากนั้นก็วางแผ่นแตงกวาลงบนใบหน้าทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก โดยแตงกวาก็จะช่วยดูดซับสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ใต้ผิว ทำให้ผิวเย็น ตึง และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวโดยไม่ทำให้หน้ามัน เมื่อครบ 10 นาทีแล้วก็ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดออกอีกครั้ง เป็นอันเสร็จ
7.             สูตรกระชับรูขุมขน ด้วยโลชั่นน้ำผลไม้ ขั้นตอนแรกให้เตรียม น้ำแตงกวา น้ำมะเขือเทศ น้ำแตงโม และน้ำมะนาว อย่างละ 1 ช้อนชา แล้วนำมาผสมให้เขากัน จากนั้นให้ใช้สำลีแต้มส่วนผสมแล้วเช็ดเบา ๆให้ทั่วบริเวณใบหน้า ก็จะช่วยสมานผิวทำให้รูขุมขนดูกระชับ
8.             สูตรลดรอยด่างดำบนผิว ด้วยการดื่มน้ำจากผลแตงกวา และทาน้ำแตงกวาผสมกับน้ำกลีบกุหลาย (อัตราส่วนเท่ากัน) ลงบนผิวที่มีรอย ก็จะช่วยลดรอยด่างดำบนผิวหนัง และรอยจากการถูกยุงกัดได้
9.             สูตรแก้ปัญหาผิวไหม้จากแสงแดด ด้วยโลชั่นแตงกวา จากสูตรผสมน้ำแตงกวาคั้นผสมกับกลีเซอรีน 1/2 ช้อนชา แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกแดดเผา ก็จะช่วยฟื้นฟูสภาพผิว เพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยลดการอักเสบได้อีกด้วย
10.      สูตรบำรุงผิวรอบดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ด้วยการใช้แตงกวานำมาหั่นเป็นแว่นตามขวาง แล้วนำมาวางบนเปลือกตาแล้วนอนในที่เงียบสลัว ๆ ก็จะช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตาได้เป็นอย่างดี
11.      สูตรลดถุงใต้ตา ด้วยการใช้น้ำคั้นจากผลแตงกวาประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำคั้นจากมันฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วนำมาทาบริเวณใต้ตาหรือรอบดวงตาทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
12.      สูตรลดอาการตาบวม เนื่องมาจากการนอนดึกหรือจากการร้องไห้ วิธีการก็คือให้นำแตงกวาแช่เย็นมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำมาวางบนเปลือกตา หลับตาลงนอนพักทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ก็จะช่วยลดอาการตาบวมได้
13.      สูตรแก้อาการแสบตา ระคายเคืองตา ปวดกล้ามเนื้อตา ใต้ตาคล้ำ ตาแห้ง ตาพล่ามัว ด้วยการใช้แตงกวาแช่เย็นที่หั่นเป็นแว่นมาวางบริเวณดวงตาประมาณ 10 นาที แล้วพักสายตาในห้องมืด ๆ ก็จะช่วยทำให้ดวงตากลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม
14.      สูตรลดรอยหมองคล้ำใต้รักแร้ หลังอาบน้ำเสร็จเช็ดตัวให้แห้งแล้วให้เตรียมน้ำคั้นจากแตงกวา 1 ช้อนชา, น้ำมะนาว 1 ช้อนชา, น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ และผงขมิ้นครึ่งช้อนชา แล้วใช้สำลีชุบน้ำมันมะพร้าวนำมาเช็ดบริเวณรักแร้ หลังจากนั้นให้ผสมน้ำคั้นแตงกวา น้ำมะนาว และผงขมิ้นให้เข้ากัน แล้วนำมาทาบริเวณรักแร้ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก ควรทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
15.      สูตรป้องกันผมเสียจากคลอรีน ด้วยการผสมไข่ 1 ฟอง, น้ำมันมะกอก 3 ช้อนชา, เนื้อแตงกวา 1/4 ผล แล้วนำมาชโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก





สรรพคุณของแตงกวา

วิธีทำน้ำคั้นจากแตงกวา
1.             น้ําแตงกวาให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ แตงกวา 2 ผล, น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำมะนาวครึ่งลูก, น้ำแข็ง 1 ถ้วย และน้ำเปล่า 2 ถ้วย
2.             นำส่วนผสมที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในโถปั่น แล้วปั่นให้ละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกัน รินใส่แก้ว เป็นอันเสร็จ
3.             ปริมาณส่วนผสมดังกล่าวสามารถปรับได้ตามใจชอบ หรือจะใส่ผลไม้ชนิดอื่นอย่างแตงโม แคนตาลูป ฯลฯ ลงไปด้วยก็ได้
4.             จากสูตรสามารถใช้น้ำเพียง 1 ถ้วย ปั่นเสร็จเทใส่แก้วแล้วเติมโซดาเย็น ๆ 1 ถ้วยแทนก็ใช้ได้เหมือนกัน
คำแนะนำ : ถ้าจะนำแตงกวามาปั่นทานทุกวันก็ไม่อาจจะไม่ค่อยเป็นผลดีต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ เพราะแตงกวามีกรดยูริก (ซึ่งอยู่ในน้ำเมือกใส ๆ) โดยเฉพาะถ้าเป็นการนำมาปั่นสด ๆ แล้วรับประทานทุกวัน ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไป ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด ก็จะไปสะสมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแคลเซียมในกระบวนการสร้างเซลล์กระดูก ความแข็งแรงของเม็ดเลือด ผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาท์ (ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้ออยู่แล้วก็ควรระวังให้มาก)

แหล่งอ้างอิง : รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), สถาบันการแพทย์แผนไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)










3.มะเขือเทศบำรุงผิว กับ 8 คุณประโยชน์ที่ช่วยให้ผิวสวย





ภาพที่ 3 มะเขือเทศ
    มะเขือเทศ ผักสีแดงที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก แถมกินแล้วยังทำให้แก้มแดงเป็นธรรมชาติไม่ต้องพึ่งบลัชออนกันเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้น มะเขือเทศยังมีประโยชน์มากมายในการบำรุงผิว หากใครยังไม่รู้ว่ามะเขือเทศจะช่วยบำรุงผิวได้อย่างไรละก็ ลองมาดู 8 คุณประโยชน์ของมะเขือเทศที่ช่วยในการบำรุงผิวกันดีกว่า คอนเฟิร์มเลยว่ามะเขือเทศนี่แหละเป็นสกินแคร์ชั้นเริดที่ราคาถูก หาซื้อง่าย และให้ผลลัพธ์ได้ดีปราศจากเคมีด้วยจ้า

 ช่วยกระชับรูขุมขน
         ใครที่มีปัญหารูขุมขนกว้าง ให้ใช้น้ำมะเขือเทศผสมกับน้ำมะนาวเพียงเล็กน้อย แล้วนำมาทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รับรองว่ารูขุมขนจะหดตัวกระชับขึ้นกว่าเดิมจ้า

 
ช่วยชะลอวัย
         เชื่ออยู่แล้วล่ะว่าสาว ๆ แทบจะทุกคนก็ต้องกลัวความแก่ กลัวหน้าเหี่ยวย่นเป็นธรรมดา ฉะนั้นมาจัดการความกังวลนี้กันเถอะ โดยเริ่มจากปลอกเปลือกมะเขือเทศออก แล้วนำเนื้อมะเขือเทศและน้ำมาผสมกันกับแป้งกรัมเพื่อให้เป็นเนื้อเหลว ๆ เมื่อได้แล้วนำส่วนผสมเหล่านั้นมามาส์กหน้า ทิ้งไว้จนกว่าจะแห้ง แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น ถ้าหากคุณเป็นคนผิวแห้ง ก็อาจจะหยดน้ำมันมะกอกผสมลงไปด้วยก็ได้

 ช่วยรักษาปัญหาสิว
         ในมะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามินเอและซี ซึ่งทั้งคู่เป็นวิตามินที่ช่วยรักษาสิวได้อย่างดีเยี่ยม วิธีการนำมารักษาสิวก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ฝานมะเขือเทศออกมา 2 แว่น จากนั้นนำมาถูวน ๆ บนใบหน้าในแนววงกลมประมาณ 10 นาที แล้วค่อยล้างหน้าให้สะอาดด้วยน้ำเย็น

 ช่วยขจัดความมันบนใบหน้า
         ลองนำน้ำมะเขือเทศกับน้ำแตงกวามาผสมกัน จากนั้นนำสำลีก้อนกลมชุบน้ำที่ผสมกันแล้วมาทาบนใบหน้าทุกวันเพื่อขจัดความมัน เพราะโดยธรรมชาติมะเขือเทศมีคุณสมบัติในการช่วยกระชับ ซึ่งเมื่อรูขุมขนกระชับแล้ว น้ำมันก็จะไม่ออกมาเยอะมากจนทำให้หน้ามันย่อง แถมน้ำแตงกวายังช่วยปลอบประโลมหน้าและทำให้สดชื่นขึ้นด้วย 

 ช่วยบรรเทาอาการผิวไหม้จากแดด
         ในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน ที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีได้ เมื่อผิวของคุณเกิดอาการไหม้หรือแสบจากแดด ให้นำน้ำมะเขือเทศมาผสมกับนมเปรี้ยว แล้วนำไปทาตรงส่วนที่ผิวไหม้แดด ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วล้างออก ผิวที่แสบที่ไหม้ก็จะค่อย ๆ ทุเลาลง

 ช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
         ถ้ากำลังหาตัวช่วยในการสครับหน้า ขอแนะนำให้หั่นมะเขือเทศชิ้นใหญ่ ๆ แล้วจุ่มลงไปในชามที่มีน้ำตาลอยู่ จากนั้นก็นำมาขัด ๆ หน้าอย่างเบามือ พวกเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นต้นเหตุของความหมองคล้ำก็จะหลุดลอกออกไป เมื่อล้างออกแล้วคุณจะได้ผิวใส ๆ มาแทนที่ ให้ทำบ่อย ๆ ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยให้ผลลัพธ์ออกมาเริดสุด ๆ 

 
ช่วยให้หน้าสดใสเปล่งปลั่ง
         หากคุณรู้สึกว่าใบหน้าดูไม่สดใส ผิวดูไม่มีชีวิตชีวาเอาซะเลย ให้แก้ปัญหานี้โดยการนำมะเขือเทศปั่นเข้มข้นมาผสมกับโยเกิร์ต โดยในมะเขือเทศจะช่วยถอนพิษต่าง ๆ ที่ฝังอยู่ในผิวออกไป ส่วนโยเกิร์ตจะช่วยให้ผิวสว่างกระจ่างใสและมีโปรตีนที่ดีที่ช่วยบำรุงฟื้นฟูผิว ซึ่งวิธีนี้เหมาะมาก ๆ ในช่วงหน้าร้อนที่ผิวได้รับฝุ่นควันมลพิษต่าง ๆ และผิวคล้ำเสียจากแสงแดด

 ช่วยให้ผิวสะอาดใส
         ถ้าอยากล้างหน้าให้สะอาดแบบปราศจากสารเคมี ลองนำมะเขือเทศมาปั่นรวมกับอโวคาโด แล้วนำมาล้างหน้าแทนการใช้โฟมล้างหน้า เพราะในอโวคาโดมีส่วนช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและในมะเขือเทศช่วยให้ผิวหน้าและรูขุมขนกระชับ แล้วลองคิดดูสิว่า เมื่อสองอย่างนี้มารวมกันเพื่อล้างหน้า จะทำให้หน้าสวยใสเปล่งปลั่งได้มากขนาดไหน


4.อัญชัน สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ



ภาพที่ 4 อัญชัน
อัญชัน ชื่อสามัญ Butterfly pea, Blue pea
อัญชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่วFABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรอัญชัน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดงชัน (เชียงใหม่), เอื้องชัน (ภาคเหนือ) เป็นต้น
                อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆคนยังไม่ทราบนั้นก็คือ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้และการ “กินดอกอัญชันทุกวันวันละหนึ่งดอก” จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย
เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีในการฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ
สรรพคุณของอัญชัน
1.             น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
2.             เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
3.             มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
4.             ประโยชน์ของดอกอัญชัน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
5.             ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
6.             ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
7.             ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
8.             อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
9.             ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
10.      ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
11.      ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
12.      ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
13.      อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
14.      ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
15.      ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตามเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
16.      ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
17.      นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
18.      นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
19.      ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
20.      ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
21.      แก้อาการปัสสาวะพิการ
22.      สรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
23.      ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
24.      นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
25.      ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
26.      ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผักก็ได้ เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
27.      น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
28.      ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
29.      ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
30.      ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

5.รอบรู้เรื่องสบู่

รอบรู้เรื่องสบู่ : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดคู่กาย 
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนหลายคนอาบน้ำวันละมากกว่า 1 ครั้ง สมัยก่อนมีสบู่ก้อนแต่เพียงอย่างเดียว สมัยนี้มีสบู่นานาชนิด มีปัญหาที่ต้องถามกันว่า สบู่เหล่านี้มีดีมากดีน้อย เปรียบเทียบกันอย่างไร

          ความรู้จากวารสารสนองโอฐสภากาชาดไทย ISSN 0125-5851 ให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้ดังนี้
การอาบน้ำทำความสะอาดผิวหนังเป็นกิจวัตรที่ทุกคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะช่วยขจัดคราบสกปรกของเหงื่อไคล ไขมันเคลือบผิว เชื้อจุลชีพและฝุ่นที่เกาะหนังขี้ไคล การอาบล้างผิวยังช่วยผ่อนคลายความร้อนและความเครียดได้อีกด้วย หลายคนมีความสุขกับการอาบน้ำ บางคนตกแต่งห้องน้ำอย่างหรูหรา สวยงาม และใช้เวลาในการอาบน้ำนานเป็นพิเศษ จริง ๆ แล้วธรรมชาติของผิวหนังจะมีขบวนการทำความสะอาดแบบอัตโนมัติ โดยการผลัดหนังขี้ไคลออกตลอดเวลา การหลุดร่วงของหนังขี้ไคลจะช่วยกำจัดคราบสกปรกไปในตัว ถ้าเป็นผิวแห้งลื่นคราบสกปรกก็ไม่เกาะติด แต่เนื่องจากผิวมีความมัน อีกทั้งยังมีการใช้เครื่องสำอางซึ่งช่วยส่งเสริมให้คราบฝุ่นละออง เขม่าควันที่อยู่ในบรรยากาศภายนอกเกาะผิวแน่นขึ้นไปอีกจึงจำเป็นต้องมีการชำระล้างออก เพื่อการมีผิวพรรณที่สดใสสะอาดของเรา และผลิตภัณฑ์เพื่อการทำความสะอาดผิวหนังส่วนใหญ่ก็เป็นเครื่องสำอางที่มีมูลค่าสูง มีการพัฒนาสูตรต่าง ๆ ให้ถูกใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา มีการโฆษณาลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และนิยมใช้ผู้มีชื่อเสียง บุคลิกดี ผิวสวยเป็นผู้แนะนำสินค้าเพื่อแย่งชิงผู้บริโภค ฉะนั้นก่อนจะใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์อะไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพผิว มีหลากหลายคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิว เช่น สบู่ก้อนต่างกับสบู่เหลวหรือโฟมอย่างไร

        สบู่ก้อนแบบดั้งเดิม (Soap) ทำจากไขสัตว์หรือไขพืช ทำปฏิกิริยากับด่าง จึงมีฤทธิ์ เป็นด่าง หลายคนอาจเกรงว่าสบู่ก้อนจะระคายผิว ในปัจจุบันสบู่ก้อนอาจได้จากสารสังเคราะห์ (syndet) ซึ่งจะมีความเป็นด่างน้อยลง เดิมจากความเป็นด่าง pH 10-11 เป็น pH 8-9 แต่ ราคาสบู่สังเคราะห์จะแพงกว่า จากการศึกษาพบว่าทั้ง 2 แบบทำให้เกิดความระคายเคืองเท่ากัน

      สบู่เหลวเป็นสารสังเคราะห์ ลดแรงตึงผิว (surfactant) จะมี 2 แบบ คือ ลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) เช่น sodium lauryl ether sulfate ซึ่งนิยมใช้ในสบู่เหลวและแชมพูเกือบทุกชนิด และชนิดประจุผสม (amphoteric herfactant) เช่น สาร betaine ซึ่งจะไม่ระคายเยื่อบุผสม อยู่ในสบู่เหลว หรือแชมพูเหลวสำหรับเด็ก สารจะมีฟองน้อยกว่าและราคาแพงกว่า สบู่เหลวมีความเป็นกรดด่างเกือบจะเท่ากับผิวหนัง คือประมาณ pH 5-6

การใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลวจะชำระล้างคราบสกปรกได้เท่ากัน อาจระคายเคืองผิวได้เหมือนกัน แต่สบู่เหลวอาจทำให้ผิวแห้งเพราะสบู่สัมผัสคราบได้ดีกว่า จึงมีการพัฒนาเป็นโฟม (wash off foam) คือ สบู่เหลวผสมครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ดังนั้นท่านสามารถเลือกใช้ตามความชอบได้ แต่ราคาสบู่ก้อนจะถูกกว่า

   สบู่ไร้ฟองจะทำความสะอาดผิวได้ดีกว่าใช่หรือไม่ 
       ฟองจากสบู่เป็นผลพลอยได้เมื่อเราใช้สบู่ ผู้ผลิตจึงพยายามผลิตสบู่ให้มีฟองมาก ๆ โดยเติมสารเพิ่มฟอง แต่ทฤษฎีฟองกลับขัดขวางการขจัดคราบสกปรก โดยหลักการชำระล้างควรล้างเฉพาะคราบสกปรกออก และเหลือน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวให้พอเหมาะ ในสบู่ไร้ฟองเมื่อล้างจนหมดคงทำให้ผิวแห้งเกินไป ในหลายผลิต ภัณฑ์อาจเติมความชุ่มชื้น (moisturizer) ซึ่งก็ไม่เหมือนน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวตามธรรมชาติ บางชนิดก่อให้เกิดการแพ้หรืออุดตันรูขุมขนได้ ดังนั้นสบู่มีฟองก็ดีเท่ากับสบู่ไร้ฟอง แถมราคาถูกกว่าด้วย

   สบู่ที่มีความเป็นด่างจะระคายเคืองต่อผิวหนังใช่หรือไม่
      สบู่ก้อนจะมีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนสบู่เหลวหรือโฟมจะมีความเป็นกรดด่างเท่ากับผิวหนัง ความจริงแล้วผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังจะสัมผัสกับผิวหนังของเราในระยะสั้น ๆ เมื่อล้างออกแล้วความเป็นด่างของผิวก็จะกลับคืนสู่ภาวะปกติภายใน 30 นาที ฉะนั้นถ้าผิวหนังเราปกติ ไม่มีบาดแผล ความเป็นกรดด่างของสบู่ก็ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ มีหลายคนชอบใช้สบู่ฤทธิ์กรด เพราะเข้าใจว่าจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ในผิวปกติจริง ๆ แล้วมีเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้ออื่น ๆ จึงไม่ควรใช้สบู่ฤทธิ์กรดเพราะมักจะระคายผิว

   สบู่ซึ่งผสมสารฆ่าเชื้อจุลชีพจะช่วยให้ผิว สะอาดกว่าจริงหรือไม่
      เนื่องจากผิวหนังมีเชื้อจุลชีพอาศัยอยู่หลายชนิดอย่างสมดุลทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ในภาวะปกติเชื้อเหล่านี้จะทำหน้าที่ป้องกันเชื้อร้ายแบบอื่น ๆ และสร้างสารซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรคที่มีอันตรายในสภาพผิวปกติการใช้สารฆ่าเชื้อจึงอาจทำให้ร่างกายเกิดการบกพร่องของความสมดุล สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่นิยมใช้กันจะผสมไตรโคซาน (trichosan) อาจใช้ได้ในผิวที่เกิดผื่นคัน ซึ่งมีการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียผิดปกติ แต่ควรใช้ในระยะสั้นตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนชนิดที่ผสมสารฆ่าเชื้อรา เช่น คีตาโคนาโซน (ketaconazone) และ ซินส์ ไพริไทออน (Zinc pyrithione) มักผสมอยู่ในแชมพูขจัดรังแค แต่ก็นำมาใช้รักษาสิวหรือเกลื้อนของผิวหนังได้

   ควรเลือกใช้สบู่ผสมสารชุ่มชื้นเพื่อป้องกันผิวแห้งใช่หรือไม่ 
       การใช้สบู่ชำระล้างทำความสะอาดผิวควรใช้ให้พอดี ถ้าหลังอาบน้ำเกิดผิวแห้งควรลดปริมาณการใช้สบู่ลง เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัดหรืออาบน้ำนานเกินควร การใช้สบู่ผสมสารชุ่มชื้นต่าง ๆ อาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ โดยลักษณะของสบู่ชนิดนี้ต้องเหลือความลื่นของสาร ซึ่งหลายคนไม่ชอบ ดังนั้นถ้าใช้สบู่ผสมสารเพิ่มความชุ่มชื้นแต่ก็พยายามที่จะล้างออกให้หมด ก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้ ทางที่ดีถ้าต้องการให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้ง เมื่อใช้สบู่ที่ผสมสารชุ่มชื้นแล้วก็ล้างออกให้พอดี เมื่อลูบผิวแล้วมีความลื่น ติดอยู่เล็กน้อยไม่ถึงกับขัดถูเสียจนผิวดังเอี๊ยด ถ้าเป็นอย่างนี้ใช้ไปก็ไม่มีประโยชน์จริง ๆ ด้วย

   วิตามินหรือสารสกัดซึ่งผสมในสบู่จะช่วยถนอมและบำรุงผิวได้จริงหรือ ?
      เป็นอีกคำถามที่พบอยู่เสมอ ๆ ขอบอกว่า การใช้สารบำรุงผิวจะต้องทาทิ้งไว้อยู่นานพอให้สารซึมผ่านเข้าไปในผิวหนัง แต่ถ้าใช้เพียงชั่วครู่ และต้องล้างออกจึงไม่มีประโยชน์ ถ้าต้องการให้สารสกัดหรือวิตามินซึมผ่านเข้าไปในผิว ควรทาสารสกัดหรือวิตามินหลังการอาบน้ำแต่ก็ยังไม่มีข้อยืนยันว่าสารสกัดหรือวิตามินจะช่วยบำรุงผิวได้จริง
      ปัจจุบันการทำความสะอาดผิวกายเพียงเพื่อชำระล้างคราบสกปรกออกจากร่างกายกลายเป็นธุรกิจไปเสียแล้ว เพราะมีการช่วงชิงตำแหน่งผู้นำทางการตลาดกันทุกรูปแบบ เวลาเราเดินในห้างสรรพสินค้าจะเห็นมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากมายวางเรียงรายให้เลือกซื้อ มีหลายรูปแบบ หลายราคา แต่ถ้าผู้บริโภคมีความเข้าใจในธรรมชาติของผิวหนังว่าผิวหนังของท่านต้องใช้ผลิตภัณฑ์ใดถึงจะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ท่านก็จะสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตามความต้องการและสมราคาอีกด้วย.







6.กลีเซอรีน












ภาพที่ 6 กลีเซอรีน

ชื่อทางเคมีกลีเซอรีนบริสุทธิ์ 99.5% (USP Grade)
ชื่ออื่น :
- Glycerin
- Glycerol
- 1,2,3-propanetriol Trihydroxypropane

กลีเซอรีนคือ ของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน โดยปกติมาจากน้ำมันของพืช ซึ่งโดยทั่วไปคือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม


ประโยชน์ของกลีเซอรีนบริสุทธิ์ สามารถนำไปประยุกต์เป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์เพื่อปกป้องผิวไม่ให้แห้งและดูดซับความชื้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ ซึ่งจะทำให้รู้สึกว่า ผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ขจัดความสกปรกที่ฝังแน่น ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้งปลอดภัยต่อผิวหนัง และเนื้อผ้าทุกชนิด

           การที่กลีเซอรีนเป็นสารที่ไม่มีพิษในทุกๆ รูปแบบของการประยุกต์ใช้ ไม่ว่า จะใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารเติม แต่ง ทำให้กลีเซอรีนได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ด้วยการทำยาเหน็บทวาร ใช้เป็นยาระบาย และยังสามารถใช้เป็นยาเฉพาะที่สำหรับปัญหาทางผิวหนังหลายชนิด รวมถึง โรงผิวหนัง ผื่น แผลไฟลวก แผลกดทับ และบาดแผลจากของมีคม กลีเซอรีนถูกใช้เพื่อรักษาโรคเหงือกได้ด้วย เนื่องจากกลีเซอรีนสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องได้

ประโยชน์อื่นๆของกลีเซอรีน :
 
  • ถ้าผสมกลีเซฮรัน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในนํ้า ซักผ้าขนสัตว์ จะทําให้ขนสัตว์ฟูอ่อนนุ่มขึ้น
  • ถ้าใช้กลีเซอรีนทามือก่อนนอนทุกคืน จะช่วยถนอมมือให้นุ่มนวลอยู่เสมอ
  • หยดกลีเซอรีนบนรอยเปื้อนมัสตาร์ดบนผ้าแล้วนำไปซัก รอยเปื้อนจะหายไป
  • ถ้าใช้ฟองนํ้าจุ่มกลีเซอรีนเช็ดกระจกในห้องนํ้า ขณะอาบนํ้าร้อน กระจกจะใสสะอาด
  • ถ้าหยดกลีเซอรีนลงไปในหลอดมาสคาร่าที่เริ่มจะแห้ง จะช่วยยืดอายุของการใช้งานออกไปได้อีก
  • ถ้าต้องการละลายนํ้าแข็งในตู้เย็น ทําได้ด้วยการเช็ดตู้เย็นด้วยผ้าชุบกลีเซอรีนให้ทั่ว นํ้าแข็งจะหลุดออกได้ง่าย
  • ถ้าใช้กลีเซอรีนหยดลงบนผ้านุ่ม แล้วเช็ดตามใบไม้ในร่ม ใบไม้จะเป็นมันสะอาด
  • ถ้าผสมกลีเซอรีน 1 ถ้วยตวงกับนํ้า 1 ลิตร เทลงในอ่างนําดอกไม้ที่ต้องการทําเป็นดอกไม้แห้ง แช่ลงไปให้ท่วมทั้งดอก ก้านและใบที้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ตัวยาซึมลงไปในดอกไม้ แล้วจึงนําดอกไม้นั้นมาประดับตกแต่งเป็นช่อบูเก้ ดอกไม้จะอยู่ทนนาน





  • ทำความสะอาดช่องแช่แข็ง
คราบอาหารหมดโอกาสติดแน่นอยู่ในช่องแช่แข็งถ้ามีกลีเซอรีน โดยขจัดคราบอาหารแล้วใช้เศษผ้าแตะกลีเซอรีน ซึ่งเป็นตัวทำละลายตามธรรมชาติเช็ดบริเวณคราบติดแน่นให้สะอาด เท่านี้เราก็ได้ช่องแช่แข็งใหม่สะอาดเอี่ยม
  • สบู่เหลวขวดใหม่
เศษสบู่ที่เหลือจะเอาไปทำอะไรดีหนอ ผสมกลีเซอรีนลงไป แล้วบี้สบู่ให้เข้ากันในน้ำอุ่น เทส่วนผสมใส่ขวดปั๊มเท่านี้คุณก็มีสบู่เหลวราคาประหยัดเอาไว้ใช้
  • ถนอมใบไม้
เจอใบไม้รูปทรงแปลกๆ อยากเก็บไว้ดูเล่นหรือเอาไปตก แต่งบัตรอวยพร แต่แทนที่จะทับแห้งอย่างที่เคยทำ ลองเปลี่ยนมาแช่กลีเซอรีนดู ใบไม้ที่แช่กลีเซอรีนจะคล้ายใบไม้สด สีจะเปลี่ยนไปบ้าง อาจจะสีเขียวเข้มขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้ว แต่ความอ่อนแก่ของใบ ชนิดของใบ เป็นต้น
วิธีการ คือผสมกลีเซอรีนกับน้ำอุ่นเกือบร้อน 2 ส่วน คนให้เข้ากันทิ้งไว้ให้เย็น เลือกใบไม้ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มาจัดวางในภาชนะโดยส่วนโคนใบอยู่ด้านล่างเทส่วนผสมที่เตรียมไว้ลงไปให้ท่วม ทิ้งไว้นาน 2 สัปดาห์ ถึง 2 เดือนเอาใบขึ้นมาล้างน้ำ เช็ดให้แห้งและตากลมอีกครั้ง
  • คราบถ่านหายไป
คุณคงคิดว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะขจัดคราบถ่านหรือคราบมัสตาร์ด แต่เป็นไปได้ถ้าคุณใช้กลีเซอรีน ถูกลีเซอรีนตรงรอยเปื้อน แล้วทิ้งไว้ราวหนึ่งชั่วโมง จากนั้นใช้กระดาษอเนกประสงค์ที่ใช้ในครัวเช็ดออก โดนค่อยๆ กดแล้วยกขึ้น ซึ่งอาจต้องทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
  • แก้ไขมือหยาบกร้าน
เพียงผสมกลีเซอรีนและน้ำมันระหุงอย่างละเท่ากันเป็นเนื้อเดียว ใช้สูตรนี้ทามือให้ทั่วทั้งฝ่ามือและหลังมือ ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง มือจะนุ่มนวลขึ้น
  • ทำสบู่ใช้เอง
สบู่ทำเองเป็นของขวัญชิ้นเยี่ยมและทำง่ายมาก เพียงมีกลีเซอรีนและเตาไมโครเวฟ ก็ลงมือได้เลย ตัดกลีเซอรีนที่ส่วนใหญ่ จะมาขายเป็นท่อนๆ ให้เป็นลูกเต๋าขนาด 2 นิ้ว หย่อนกลีเซอรีนหลายๆ ก้อนใส่ภาชนะแก้ว เอาเข้าเตาไมโครเวฟไฟปานกลาง เอาออกมาดูทุกๆ 30 วินาที จนกว่าจะละลายใช้ได้ ถึงตรงนี้ให้เติมสีหรือกลิ่นที่คุณชอบ จากนั้นรินกลีเซอรีนเหลวลงในพิมพ์สบู่หรือพิมพ์ขนม ถ้าไม่มีใช้ถ้วยพลาสติกโพลีสไตริน เทลงไปซัก 3 ใน 4 นิ้วจากก้นถ้วย ทิ้งให้แข็งตัวราวครึ่งชั่วโมง
  • ขจัดคราบกาแฟค้างเก่า
เสื้อตัวสวยกลับจากงานเลี้ยงน้ำชา-กาแฟด้วยคราบกาแฟที่เปื้อนใส่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ถ้าเห็น แต่แรกซับด้วยน้ำทันทียังพอทำเนา แต่คราบเก่าซักยากยิ่ง ลองซับด้วยน้ำเย็นดูก่อนแล้วให้ถูให้ทั่วด้วยกลีเซอรีน ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมงแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น จากนั้นจึงซักตามปกติ

7.วิธีการทำสบู่

 วิธีการทำสบู่มีอยู่ 3 วิธีหลักๆ
1.             Melted and Pour ก็คือใช้กลีเซอรีน (Glyserine Soap Base) ซึ่งต้องไปหาซื้อมา เอามาหั่นเป็นอันเล็กๆ ละลาย ผสมนู้นนี่ แล้วเทใส่แม่พิมพ์ พอเย็น แข็งตัวแล้ว เอามาใช้ได้เลย
2.             Cold Press หรือ การทำสบู่พื้นฐาน หรือ เรียกว่า ทำ Soap Base
3.             Hand-milled soap หรือ การทำสบู่สองขั้นตอน ก็คือ การนำ Soap Base มาขูดเป็นฝอยนำมาละลาย แล้วผสมนู้นนี่ลงไป
โดยปรกติแล้วส่วนใหญ่จะเลือกทำแบบ วิธี 2 และ 3 ค่ะเพราะว่า เราสามารถควบคุมและเลือกได้ว่าน้ำมันประเภทไหนที่เราอยากใช้ในการทำ Soap Base  อย่างเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมัน โจโจบา น้ำมันอัลมอนด์ น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ น้ำมันแต่ละชนิดก็จะมีประโยชน์สำหรับผิวพรรณแตกต่างกันไป ถ้าเราทำ Soap base เอง เราก็สามารถเลือกน้ำมันมาผสมกันได้หลายชนิดด้วย แต่เวลาในการตากแห้งจะใช้เวลานานหลายอาทิตย์ กว่าจะนำมาใช้ได้ สำหรับคนใจร้อนนี่แบบ 1 ดีที่สุด
กลีเซอรีน ก็คือสบู่พื้นฐาน ที่เกิดจาก วิธีทำสบู่แบบที่ 2 ที่เรียกว่า Coldpress Soap Making.. สิ่งที่ทำให้สบู่กลีเซอรีน แตกต่างจากสบู่พื้นฐานทั่วไปก็คือ ใช้แอลกอฮอร์บริสุทธิ์ (grain Alchohole, Ever grade Alchohol) 80-100% เป็นส่วนหนึ่งในการผสม ที่ทำให้สบู่ใส และ แข็งตัวเร็วขึ้นมากหลังจากนำมาละลายอีกครั้ง (เพื่อเติมใส่สี กลิ่น และ ตัวผสมอย่างอื่นเพิ่มเติม)
วิธีทำ ได้แก่
1.             เตรียมพิมพ์ โดยการทาพิมพ์ด้วยวาสลินเพื่อให้แคะสบู่ออกจากพิมพ์ได้ง่าย(อาจใช้พิมพ์วุ้นพลาสติกหรือกล่องพลาสติกก็ได้ เมื่อสบู่แข็งตัวแล้วจึงนำมาตัดเป็นก้อนตามขนาดที่ต้องการ)
2.             หั่นสบู่ก้อนใสให้เป็นชิ้นเล็กใส่ในภาชนะที่ทนความร้อน นำไปตุ๋นให้ละลายเป็นของเหลว เมื่อสบู่ละลายแล้ว นำลงจากเตา (การตุ๋นสบู่ คือการทำให้สบู่ร้อนด้วยไอจากน้ำเดือด โดยใช้หม้อ 2 ใบ ใบล่างใส่น้ำตั้งบนเตาไฟให้เดือด ใบบนใส่สบู่แล้ววางซ้อนไว้บนหม้อใบล่าง ที่ทำอย่างนี้เพื่อไม่ให้เนื้อสบู่ไหม้)
3.             เตรียมสมุนไพรโดยผสมน้ำหมักชีวภาพมะเฟือง เกลือแกง น้ำผึ้ง และขมิ้นผง  คนให้ละลายเข้ากันแยกไว้ในภาชนะต่างหาก(ฤดูร้อน ผิวไม่แห้งมาก ควรลดปริมาณน้ำผึ้ง อาจใส่เพียง 1/8 ถ้วยตวง สำหรับผู้ที่ผิวแห้งหรือใช้ในฤดูหนาว ให้ใส่น้ำผึ้ง 1/4  ถ้วยตวง ) ห้ามใส่สมุนไพรที่เป็นของเหลวเกินกว่าส่วนที่กำหนดเพราะสบู่จะไม่แข็งตัว
4.             เทน้ำสมุนไพรที่เตรียมไว้ในข้อ 3 ลงในสบู่ที่ละลายแล้ว คนเบาๆให้ส่วนผสมเข้ากัน พอสบู่อุ่นลงสักเล็กน้อยจึงใส่น้ำหอม คนให้ส่วนผสมเข้ากันแล้วหยอดสบู่เหลวลงในพิมพ์
5.             ปล่อยทิ้งไว้จนสบู่แข็งตัวดีจึงแคะออกจากพิมพ์ เก็บสบู่ไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เก็บภาชนะไว้ในที่ไม่ร้อนและแสงแดดส่องไม่ถึง
ข้อควรทราบ
1.             สบู่ก้อนใส (Transparent soap) บางครั้งเรียกว่าสบู่กลีเซอรีนหรือเกล็ดสบู่แข็ง เป็นก้อนทำความสะอาดผิว ที่มีส่วนผสมของกลีเซอรีนและไขมันจากพืช  กลีเซอรีนจะช่วยดูดความชื้นจากอากาศและอ่อนโยนต่อผิว เมื่อใช้แล้วจะรู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
2.             ขณะใช้สบู่สูตรนี้อาจรู้สึกคล้ายกับมีเม็ดทรายอยู่ในเนื้อสบู่ นั่นคือเนื้อขมิ้น
3.             อย่าเก็บหรือวางสบู่ไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรงหรือที่มีอุณหภูมิสูงเพราะจะทำให้สบู่ละลาย และหาก วางสบู่ก้อนใสไว้นอกภาชนะ เมื่อสัมผัสกับอากาศชื้น อาจเกิดหยดน้ำเล็กๆเกาะกระจายอยู่ทั่วก้อน หรือสบู่จะขุ่นขึ้น  ซึ่งเกิดจากคุณสมบัติในการดูดความชื้นจากอากาศของกลีเซอรีน สามารถนำสบู่มาใช้ได้ตามปกติ ไม่เสีย
4.             เมื่อใช้สบู่นี้แล้วไม่ควรวางก้อนสบู่ไว้ในที่ชื้นหรือมีน้ำขัง เพราะสบู่จะละลายเป็นของเหลว
5.             ในผู้ใช้บางรายหลังจากใช้สบู่สูตรนี้ใหม่ๆอาจรู้สึกตึงผิวเล็กน้อย หรืออาจจะมีสิวเม็ดเล็กๆขึ้นมา ประมาณ 3-5 วัน จะค่อยๆหายไปเอง 
6.             สมุนไพรที่นำมาผสมกับสบู่มีหลายชนิด ก่อนใช้ควรศึกษาถึงคุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดและเลือกใช้ให้ เหมาะสมกับตนเอง  เช่น  ขมิ้น  มะเฟือง  น้ำผึ้ง  มะขาม  เปลือกมังคุด ว่านหางจระเข้  มะละกอ แตงกวา น้ำนม ผงถ่านกัมมัน ฯลฯ และหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพมะเฟืองได้ที่ ผลไม้ลดโลกร้อน


บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน
อุปกรณ์
                1.แครอท                                                                     2 หัว
                2.แตงกวา                                                                     2 ลูก
3.มะเขือเทศ                                                                    2 ลูก
4.อัญชัน                                                                          2 ช่อ
5.กลีเซอรีนสำเร็จรูป                                                       1 ถุง
6.แม่พิมพ์                                                                        12 อัน
7.หม้อนึ่ง                                                                          1 ใบ
8.ช้อนสำหรับคน                                                              1 คัน
9. เตาแก๊ส                                                                         1 เตา
10. ถ้วยใบเล็ก                                                                  6 ใบ
11.ผ้าขาวบาง                                                                     1 ผืน
วิธีการทำ
การทำลิปบาล์มทับทิม
                1. นำผักแต่ละชนิดล้างน้ำให้สะอาด
2.ปอกเปลือกแครอท และแตงกวาออก จากนั้นนำไปปั่น แยกปั่นผักแต่ละชนิด เมื่อปั่นเสร็จให้ตักใส่ถ้วยไว้
3. นำมาคั่นเพื่อเอาน้ำจากผัก ใส่ในถ้วยไว้
5. แบ่งกลีเซอรีนเป็น 4 กอง กองละเท่าๆกัน
6. นำกลีเซอรีนไปนึ่งที่ละกองในแต่ละสูตร
7. ตั้งทิ้งไว้สักครู่หนึ่งจนกลีเซอรีนละลายแล้วใส่นำผักที่คั่นไว้ลงไป แยกทำทีละสูตร
8.คนเรื่อยๆจนทุกอย่างเข้ากัน
9.หยดกลีเซอรีน น้ำหอม และวิตามิน E ลงไป คนให้เข้ากันและยกลงจากเตา
10.เทใส่แม่พิมพ์
11.ทิ้งไว้ 1-3 ชั่วโมงหรือจนสบู่แข็งตัว
12.แกะออกจากพิมพ์และสามารถนำมาใช้ได้เลย

บทที่ 4
ผลการทดลอง

                จากการศึกษาการทำสบู่ผักผิวใส และทดลองใช้เพื่อทดสอบคุณภาพและสรรพคุณของสบู่ผัก โดยการทดลองใช้จากตัวผู้ทำโครงงาน ผลการทดลองดังตาราง

ตารางที่  แสดงผลการทดลองการใช้สบู่ผักผิวใส
สูตรที่ 1 แตงกวา
วันที่
บริเวณที่ทำการทดลอง
ผลที่ได้
1
แขนข้างซ้าย
เมื่อใช้มีกลิ่นหอม สีผิวปกติ
2
แขนข้างซ้าย
เมื่อใช้มีกลิ่นหอม สีผิวปกติ
3
แขนข้างซ้าย
เมื่อใช้มีกลิ่นหอม ผิวรู้สึกสะอาด สีผิวปกติ
4
แขนข้างซ้าย
เมื่อใช้มีกลิ่นหอม ผิวรู้สึกสะอาด สีผิวปกติ
          5
          แขนข้างซ้าย
ผิวเนียน ดูชุ่มชื้น ขึ้นเล็กน้อย
          6
          แขนข้างซ้าย
ผิวนุ่ม เต่งตึง ขึ้นเล็กน้อย
          7
          แขนข้างซ้าย
ผิวนุ่ม เต่งตึง ขึ้นเล็กน้อย







สูตรที่ 1 แครอท
วันที่
บริเวณที่ทำการทดลอง
ผลที่ได้
1
แขนข้างซ้าย
เมื่อใช้มีกลิ่นหอมมาก รู้สึกสะอาดทันทีที่ใช้
2
แขนข้างซ้าย
สีผิวยังปกติ
3
แขนข้างซ้าย
เมื่อใช้มีกลิ่นหอม ผิวรู้สึกสะอาด
4
แขนข้างซ้าย
รู้สึกสะอาดหมดจด แขนไม่มัน
          5
          แขนข้างซ้าย
ผิวเนียนขึ้น
          6
          แขนข้างซ้าย
ผิวเนียน ดูสุขภาพดี
          7
          แขนข้างซ้าย
ผิวกระจากใสขึ้นเล็กน้อย


สูตรที่ 3 มะเขือเทศ
วันที่
บริเวณที่ทำการทดลอง
ผลที่ได้
1
แขนข้างซ้าย
ไม่ค่อยมีกลิ่นน้ำหอม จะได้กลิ่นมะเขือเทศมากกว่า
2
แขนข้างซ้าย
เนื้อค่อยข้างอ่อนตัวไม่ค่อยแข็งจึงละลายเร็ว
3
แขนข้างซ้าย
รู้สึกผิวขาวกระจ่างใสขึ้นเล็กน้อย
4
แขนข้างซ้าย
แขนดูสดใส
          5
          แขนข้างซ้าย
แขนดูสดใส
          6
          แขนข้างซ้าย
แขนดูสดใส
          7
          แขนข้างซ้าย
แขนดูสดใส เรียบเนียนขึ้นเล็กน้อย


สูตรที่ 4 อัญชัน
วันที่
บริเวณที่ทำการทดลอง
ผลที่ได้
1
แขนข้างซ้าย
กลิ่นหอมมมาก เนื้อสบู่แข็งใช้งานง่าย เมื่ใช้รู้สึกสะอาดได้ทันที
2
แขนข้างซ้าย
ผิวนิ่มจากเดิมเล็กน้อย
3
แขนข้างซ้าย
ผิวนิ่มจากเดิมเล็กน้อย
4
แขนข้างซ้าย
ผิวนิ่มจากเดิมเล็กน้อย
          5
          แขนข้างซ้าย
ผิวนิ่มจากเดิมเล็กน้อย ดูกระจ่างใสขึน
          6
          แขนข้างซ้าย
ผิวนิ่มจากเดิมเล็กน้อย
          7
          แขนข้างซ้าย
ผิวนิ่มจากเดิมเล็กน้อย

จากการศึกษาแลและทดลองใช้สบู่จากผักสมุนไพร มีคุณภาพและสรรพคุณที่ถือว่าค่อนข้างดี เพราะไม่ได้มีการใช้สารเคมี มีส่วนประกอบหลักเป็นพืชผักสมุนไพร จึงให้สรรพคุณได้อย่างเด็มที่และลดการเสี่ยงต่อการแพ้ของผู้ใช้ที่ผิวบอบบาง






บทที่ 5
อภิปรายและสรุปผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
.สบู่ผักผิวใสที่มีส่วนผสมของผักและสมุนไพรมีสรรพคุณดีกว่าสบู่ที่มีสารเคมี
อภิปรายผลการทดลอง
จากการศึกษาการทำจากการศึกษาแลและทดลองใช้สบู่จากผักสมุนไพร มีคุณภาพและสรรพคุณที่ถือว่าค่อนข้างดี เพราะไม่ได้มีการใช้สารเคมี มีส่วนประกอบหัลกเป็นพืชผักสมุนไพร จึงให้สรรพคุณได้อย่างเด็มที่และลดการเสี่ยงต่อการแพ้ของผู้ใช้ที่ผิวบอบ

           
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.             เกิดการนำพืชผักสมุนไพรมาทำให้เกิดประโยชน์
2.             มีความรู้ความสามารในการทำสบู่
3.             มีทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์






บรรณานุกรม

สรรพคุณและประโยชน์แครอท.(2559).แหล่งที่มาhttp://frynn.com/%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%97/
วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2559
แตงกวา .(2559).แหล่งที่มาhttp://frynn.com/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B2/
วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2559
รอบรู้เรื่องสบู่.(2559).แหล่งที่มา
วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2559
มะเขือเทศ.(2559).แหล่งที่มา
วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2559
อัญชัน.(2559).แหล่งที่มา

วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2559